Google

Thursday, October 22, 2009

Soviet Union : Constitution

สหภาพโซเวียต : รัฐธรรมนูญ

แผนผังทางการของการปกครองในอดีตสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีระบอบการปกครองที่มีลักษณะคล้ายๆกับของรัฐตะวันตกทั้งหลาย ระบอบการปกครองของโซเวียตเป็นแบบสหพันธรัฐและเป็นแบบมีผู้แทนอันประกอบด้วยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เรียกว่า สุพรีมโซเวียต) แบบสองสภาที่ได้รับการเลือกตั้งโดยการลงคะแนนเสียงลับบนรากฐานของการเลือกตั้งทั่วไป ที่กระทำโดยตรงและโดยให้สิทธิแก่ทุกคนเท่าเทียมกัน มีเปรซิเดียมทำหน้าที่หลายอย่างให้แก่สุพรีมโซเวียตในระหว่างช่วงที่มิได้เป็นสมัยสมัยประชุม มีสภารัฐมนตรีทำหน้าที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ และเนื่องจากว่าในทางเทคนิคนั้นจะต้องรับผิดผิดชอบต่อสุพรีมโซเวียตและต่อเปรสิเดียม จึงมีลักษณะเหมือนกับคณะรัฐมนตรีของฝรั่งเศสและของอังกฤษ รัฐธรรมนูญของโซเวียตแตกต่างจากรัฐธรรมนูญของประเทศตะวันตก ตรงที่จะไม่รับรองอำนาจสูงสุดของประชาชน แต่จะรับรองอำนาจสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ รัฐธรรมนูญของอดีตสหภาพโซเวียตได้นำมาใช้แล้ว 4 ฉบับ คือ ฉบับปี ค.ศ. 1918 ฉบับปี ค.ศ. 1924 ฉบับปี ค.ศ. 1936 และฉบับปี ค.ศ. 1977

ความสำคัญ รัฐธรรมนูญของโซเวียตมิได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับป้องกันรัฐบาลมิให้รัฐบาลใช้อำนาจโดยอำเภอใจ แต่ได้ให้การรับรองให้ใช้อำนาจนี้ได้เพื่อให้เกิดการปฏิวัติทางสังคมนิยมอย่างต่อเนื่องตามการตีความของบรรดาผู้นำพรรคซึ่งเป็นผู้ที่อยู่เหนือข้อกำหนดของกฎหมาย พรรคคอมมิวนิสต์และสภารัฐมนตรีมักจะเมินเฉยต่อรัฐธรรมนูญแต่จะประกาศใช้กฤษฎีกาโดยให้มีผลบังคับใช้เหมือนกฎหมาย รัฐสภาโซเวียต (สุพรีมโซเวียต) ซึ่งมีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะคอยปรับแต่งรัฐธรรมนูญเพื่อให้ความชอบธรรมแก่การกระทำดังกล่าวของสภารัฐมนตรี การตรากฎหมายโดยรัฐสภาจึงเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญแต่ในทางทฤษฎี ทว่าในความเป็นจริงแล้วบรรดาบุคคลชั้นหัวกะทิในพรรคจะเข้าควบคุมรัฐสภาเอาไว้ แนวความคิดทางรัฐธรรมนูญของฝ่ายตะวันตกที่ให้ใช้ “หลักนิติธรรมยิ่งกว่าหลักบุคคล” ก็ใช้ไม่ได้กับระบบของโซเวียตหรือกับประเพณีนิยมทางการปกครองของรัสเซีย

No comments:

Post a Comment