Google

Thursday, October 22, 2009

Germany (Federal Republic) : Party System

เยอรมนี (สหพันธ์สาธารณรัฐ) : ระบบพรรคการเมือง

ระบบหลายพรรคที่มีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นระบบสองพรรค ระบบพรรคการเมืองของเยอรมันเกิดขึ้นด้วยความยินยอมของฝ่ายพันธมิตรในช่วงเข้ายึดครองเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นระบบที่ยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายพื้นฐาน (เบสิคลอว์) ของสหพันธ์สาธารณรัฐ ยกเว้นแต่ส่วนที่เป็นข้อห้ามมิให้มีพรรคนาซีใหม่และพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น จากการที่กฎหมายเลือกตั้งมีความเคร่งครัดมากจึงเป็นการสกัดกั้นมิให้มีหลายพรรคการเมืองอันเป็นลักษณะที่เคยเกิดขึ้นในช่วงไวมาร์ พรรคการเมือง 10 พรรคที่ชิงชัยเพื่ออำนาจในช่วงท้ายของการยึดครองของพันธมิตรจึงได้รวมตัวกันเข้าเป็นพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค และพรรคการเล็กเมืองอีก 1 พรรคในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวคือ พรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต (ซีดียู) พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (เอสดีพี) และพรรคเสรีประชาธิปไตย (เอฟดีพี) พรรคซีดียูเป็นพรรคการเมืองยึดแนวทางสายกลางค่อนไปทางขวา ได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจของคนชั้นกลางและจากกรรมกรในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม พรรคซีดียูใช้แนวทางของศาสนาคริสต์ในทางการเมือง แต่ก็มิได้เป็นพรรคของพวกบาทหลวงแต่อย่างใด ส่วนพรรคเสรีประชาธิปไตยก็เป็นพรรคที่นิยมทางสายกลางค่อนไปทางขวาอีกเหมือนกัน แต่ก็ไม่เหมือนพรรคซีดียูตรงที่เป็นพรรคปฏิเสธบทบาทของศาสนาในทางการเมือง พรรคเอสดีพีซึ่งเป็นพรรคที่สองในพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคของเยอรมัน เป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นมาในช่วงจักรวรรดิเยอรมันและยังคงมีอยู่เรื่อยมาตราบจนถึงปัจจุบัน พรรคนี้นิยมสายกลางค่อนไปทางซ้าย ได้รับการสนับสนุนจากกรรมกรในภาคอุตสาหกรรม และโครงการต่าง ๆ ของพรรคก็มีลักษณะคล้ายกับ โครงการของพรรคแรงงานของอังกฤษ กลุ่มที่แยกออกไปจากพรรคเหล่านี้เป็นพวกซ้ายจัดบ้างขวาจัดบ้าง แต่เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพราะกฎหมายระบุไว้ว่าพรรคการเมืองจะต้องได้คะแนนเสียง 5 เปอร์เซ็นต์จากคะแนนเสียงทั่วประเทศ หรือได้คะแนนเสียงข้างมากในเขตลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเขตใดแห่งหนึ่งเท่านั้นจึงจะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร

ความสำคัญ แนวโน้มที่พรรคการเมืองในประเทศเยอรมนีจะเป็นระบบสองพรรคนี้ได้คืบหน้าไปถึงจุดที่พรรคซีดียูและพรรคเอสดีพีเป็นสองพรรคที่โดดเด่นที่สุดในทางการเมือง แต่ก็ยังมีพรรคการเมืองอื่น ๆ อยู่อีกเหมือนกัน ที่ระบบพรรคการเมืองแหวกไปจากประเพณีนิยมดั้งเดิมของเยอรมนี ได้นั้น ก็เพราะมีการเน้นย้ำในหลักนิยมของพรรคและประชาชนให้ความสนใจและเข้าร่วมใน การเมืองของพรรคเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันระบบพรรคการเมืองของเยอรมันก็ยังคงเน้นที่ บทบาทดั้งเดิมที่ต้องการให้มีภวะผู้นำที่เข้มแข็งและขาดการริเริ่มทางการเมืองของภาคประชาชนอย่างกว้างขวางในการปกครองประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนของเยอรมนี แม้ว่ารัฐบาลชุดต่าง ๆ ของเยอรมันนับตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จะเป็นรัฐบาลผสมแต่ก็เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ

No comments:

Post a Comment