Google

Friday, October 23, 2009

Federal Government

การปกครองแบบสหพันธรัฐ

ระบบการปกครองที่มีการแบ่งอำนาจทางรัฐธรรมนูญระหว่างรัฐบาลกลางกับหน่วยย่อยของเขตเลือกตั้งของชาติ (จังหวัด มณฑล ภูมิภาค เป็นต้น) ทั้งรัฐบาลกลางและหน่วยย่อยต่างใช้อำนาจโดยตรงต่อประชาชน รัฐบาลแต่ละฝ่ายไม่ได้รับมอบอำนาจจากกันและกัน แต่ได้รับอำนาจจากรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลทั้งสองนั้น เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นและแต่ละรัฐบาลได้ปฏิบัติงานตามควรภายในขอบเขตอำนาจของฝ่ายตนแล้ว จะมีการตัดสินข้อพิพาทไปในทางที่เป็นคุณกับฝ่ายรัฐบาลกลางในฐานะที่เป็นศูนย์รวมขั้นสุดท้ายของอำนาจอธิปไตย หากมีการตัดสินข้อพิพาทในทางที่เป็นคุณต่อฝ่ายรัฐบาลท้องถิ่นก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบไปเป็นสมาพันธรัฐไป รัฐที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา เม็กซิโก สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฯลฯ

ความสำคัญ การปกครองแบบสหพันธรัฐนี้มีลักษณะอยู่กึ่งกลางระหว่างการปกครองแบบรวมอำนาจไว้ที่รัฐบาลซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียว กับการปกครองแบบกระจายอำนาจในรูปสมาพันธรัฐของรัฐอธิปไตย ในที่ที่มีการยอมรับการปกครองแบบสหพันธรัฐนั้น ตามปกติจะได้รับการออกแบบไว้เพื่อให้สามารถ ใช้ได้กับประชาชน วัฒนธรรม ภาษาและประเพณีที่มีความหลากหลายในรัฐเดี่ยวที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่โตมาก ๆ ระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐนี้เป็นหนึ่งในระบอบการปกครองที่มีความซับซ้อนมากเท่าที่เคยมีการสร้างกันขึ้นมา เพราะเป็นระบอบที่มีจุดประสงค์สองประการในขณะเดียวกัน คือ เพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติในด้านวัตถุประสงค์ร่วมกัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการดำรงไว้ซึ่งความ แตกต่างในระดับท้องถิ่นในสังคมเดียวกันนั้นไว้ด้วย ความสำเร็จของระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐ จะเป็นไปได้ก็จะต้องให้ความสมานฉันท์ทางค่านิยมที่จะยึดแบบสหพันธรัฐเข้าด้วยกันนั้นมีความ เข้มแข็งกว่าความแตกต่างของค่านิยมในระดับท้องถิ่นที่มีแต่จะทำให้ระบบแตกแยกกัน กระนั้นก็ดีพวกที่เน้นค่านิยมในระดับท้องถิ่นก็จะต้องมีความมั่นใจและแสดงออกในทางปฏิบัติด้วยว่ารัฐบาลกลางจะให้ความเคารพพวกตนด้วย จากความจำเป็นที่จะต้องสร้างภาวะสมดุลระหว่างความมี เอกภาพกับความคงความหลากหลายเอาไว้นี้เองทำให้ระบอบสหพันธรัฐยากที่จะทำงานได้อย่างมี ประสิทธิผล จากผลในข้อนี้เองทำให้ระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐไม่ได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวางของรัฐบาลประเภทที่เป็นรัฐเดี่ยว

No comments:

Post a Comment