Google

Thursday, October 22, 2009

Germany (Federal Republic ) : Parliament

เยอรมนี (สหพันธ์สาธารณรัฐ) : รัฐสภา

สภานิติบัญญัติในแบบสองสภาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตะวันตก ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง หรือ บันเดสแทก) ประกอบด้วยสมาชิกประเภทลงคะแนนเสียงได้จำนวน 496 คนและสมาชิกประเภทที่ไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้จากเบอร์ลินอีกจำนวน 22 คน สมาชิกทั้ง 2 ประเภทเป็นผู้แทนของประชาชนทุกคนของสาธารณรัฐ และเป็นสภาที่มีอำนาจมากกว่าอีกสภาหนึ่ง คือ สภาบุนเดสรัต (สภาสูง) อันประกอบด้วยผู้แทนจำนวน 41 คนจากรัฐ 10 รัฐของสหพันธ์สาธารณรัฐและอีก 4 คนที่ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียงจากเบอร์ลิน มีอำนาจวีโต้ทางนิติบัญญัติ และเป็นสภาทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ คณะรัฐมนตรีระรายงานถึงสภาบุนเดสแทก ซึ่งถึงแม้จะไม่สามารถถอดถอนรัฐมนตรีได้แต่ก็สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีโดยการเลือกตั้งบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนเผื่อไว้ก่อน ทั้งสองสภามีคณะกรรมาธิการหลายคณะในกระบวนการทางนิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ตามเสียงที่มีอยู่ในสภาล่าง คณะกรรมาธิการจะไม่ค่อยควบคุมร่างรัฐบัญญัติเท่ากับในสหรัฐอเมริกา แต่ก็จะมีงานทางด้านนิติบัญญัติในช่วงอภิปรายในสภามากกว่าในกรณีของสภาคองเกรสของสหรัฐฯ การตรากฎหมายจะมีการดำเนินการดังนี้ (1) จากรัฐมนตรีจะมีการร่างกฎหมาย (2) ร่างรัฐบัญญัติจะส่งไปถึงคณะรัฐมนตรี (3) คณะรัฐมนตรีนำเสนอร่างรัฐบัญญัติต่อสภาสูงเพื่อการกลั่นกรองก่อน (4) จากนั้นก็จะนำเสนอต่อสภาล่าง (บุนเดสแทก) เพื่อดำเนินการ และ (5) ส่งร่างรัฐบัญญัติกลับคืนไปยังสภาสูงเพื่อการพิจารณาครั้งสุดท้าย

ความสำคัญ ระบอบการปกครองของเยอรมันเป็นระบอบที่มีฝ่ายบริหารมีอำนาจมาก ซึ่งส่งผลให้รัฐสภาเยอรมันไม่มีอำนาจและมีเกียรติภูมิเหมือนอย่างรัฐสภาในประเทศตะวันตกอื่นๆ นอกจากนั้นแล้วการพัฒนาสถาบันรัฐสภาได้ถึงภาวะชะงักงันโดยสิ้นเชิงในช่วงที่นาซีเรืองอำนาจ ปัจจัย ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวการสร้างแนวโน้มปัจจุบันของระบอบการปกครองของเยอรมันที่หน้าที่ในการตรากฎหมายถูกครอบงำโดยบทบาทการกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ภายใต้รัฐธรรมนูญบอนน์ที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจมากนี้ รัฐสภาจะสามารถควบคุมฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่มีความไร้เสถียรภาพอันเป็นลักษณะของการปกครองในช่วงไวมาร์นั้นได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไป

No comments:

Post a Comment