อิตาลี: ระบบพรรคการเมือง
ระบบพรรคการเมืองในแบบภาคพื้นยุโรป คือ เป็นระบบหลายพรรค ที่มีความอ่อนแอและไร้เสถียรภาพ เสียงข้างมากที่เข้ามาเป็นรัฐบาลในระบบพรรคของอิตาลีประกอบด้วยพรรคที่ยึดสายกลางพรรคหนึ่งกับพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้การสนับสนุน บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ได้จัดตั้งขึ้นมานั้น เป็นระบบที่ไม่มีทางเลือกคือไม่มีฝ่ายค้านที่มีประสิทธิผล เพราะว่าพรรคที่ยึดแนวทางทั้งซ้ายจัดและขวาจัดนั้นล้วนแต่ต่อต้านบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นพรรคที่ยึดทางสายกลางจะอยู่ในตำแหน่งได้โดยมีการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบของรัฐบาลแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น พรรคคริสเตียนเดโมแครต (คาทอลิก) เข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดยลำพังก็มี หรือโดยผสมกับพรรคการเมืองที่ยึดแนวทางสายกลางพรรคเล็กๆก็มี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 แต่พรรคคริสเตียนเดโมแครตเป็นพรรคที่ใหญ่มากแม้ว่าจะมีมุ้งใหญ่มุ้งเล็กอีกมากมายก็ไม่สามารถสั่นคลอนพรรคได้ พรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่มิได้ปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์เป็นพรรคมวลชนใหญ่เป็นอันดับสองในอิตาลี เป็นพรรคที่คัดค้านรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยพวกหัวรุนแรงทางอุดมการณ์และมวลชนที่ไม่พอใจในระบบปัจจุบันเพราะเห็นว่าเป็นระบบที่ก่อให่เกิดความยากจน การคอรัปชัน การว่างงาน และการขาดความก้าวหน้าทางสังคม ส่วนพรรคสังคมนิยมอิตาลีซึ่งก่อตั้งขึ้นมาในช่วงปลายทศวรรษที่ 19 เป็นพรรคเล็กที่สุดในบรรดาพรรคมวลชน 3 พรรคของอิตาลี พวกสังคมนิยมไม่ได้เป็นพันธมิตรกับพวกคอมมิวนิสต์อีกแล้ว ได้รับการสนับสนุนส่วนใหญ่จากชนชั้นกรรมาชีพฝ่ายซ้ายที่หัวรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ลงคะแนนเสียงที่ไม่พอใจที่คอมมิวนิสต์แบ่งชีวิตส่วนตัวของสมาชิกพรรคเป็นกลุ่มๆ และจากการกลัวโซเวียตจะครอบงำนโยบายพรรค นอกจากนี้แล้วพวกสังคมนินมก็ยังแยกออกเป็นกลุ่มเล็กๆ เช่น พวกสังคมประชาธิปไตย ส่วนพรรคการเมืองพรรคเล็ก ๆ ในระดับชาติ ก็คือ พรรคไทรอเซียนภาคใต้ (เอสวีพี) เป็นพรรคขวาจัด และพรรคประชาธิปไตยของชนชั้นกรรมาชีพ (ดีพี) เป็นพรรคซ้ายจัด
ความสำคัญ ก่อนที่จะได้มีการจัดตั้งสาธารณรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1947 นั้น ประเทศ อิตาลีไม่เคยมีระบบพรรคการเมืองในแบบมีผู้แทนมาก่อนเลย พรรคการเมืองเดี่ยว เช่น พรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์เคยมีมาภายใต้ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยพร้อม ๆ กับกลุ่ม คณะ หรือคณะบุคคลอื่น ๆ ที่ยึดอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ในช่วงก่อนการ ล่มสลายของสัทธิฟัสซิสต์นั้น อิตาลีมีประสบการณ์กับกระบวนการทางประชาธิปไตยหรือกับการจัดองค์การพรรคมาน้อยมาก ระบบพรรคการเมืองในปัจจุบันก็ไม่อาจเสนอทางเลือกทางประชาธิปไตยแทนรัฐบาลผสมของพวกนิยมสายกลางได้ ไม่มีพรรคฝ่ายค้านที่พร้อมที่จะรับหน้าที่บังคับให้รัฐบาลรับผิดชอบต่อเจตจำนงของประชาชนได้ จากผลในข้อนี้ทำให้ระบบมีลักษณะไร้เสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง โดย 46 เปอร์เซ็นต์ของพอปปูล่าโหวตลงคะแนนให้แก่พรรคฝ่ายขวาและพรคฝ่ายซ้ายเพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจและต้องการจะประท้วงเท่านั้นเอง
No comments:
Post a Comment